หน้า 1 จากทั้งหมด 1

วิธีการติดตั้งเครื่องพิมพ์ EPSON TMU 220

โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 15, 2011 7:21 pm
โดย sutthipongr
พอดีช่วงที่ผ่านมา ศึกษา เรื่องการพิมพ์ slip เพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารสำหรับ แสดงค่ารักษาพยาบาลของกรมบัญชีกลาง
การเลือกซื้อ

1.ให้ซื้อรุ่นที่ ตัดกระดาษอัตโนมัติ type A จะดีกว่า เพราะสะดวกกว่ามานั่งฉีกเยอะ
2.อันนี้ผมก็เพิ่งจะรู้ เครื่องพิมพ์ slip ไม่สามารถ set รหัสภาษาไทย ได้ มีภาษาไทยมาให้เลือกแค่ 2 รหัสคือ
เกษตร 42 (KU42) และ สมอ.18 (TIS18) เท่านั้น ดังนั้นตอนสั่งซื้อก็ บอกเค้าหน่อยว่า จะใช้ระบบภาษาไทยตัวไหน ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องไป set จุดปฏิบัติงานของ mitnet ให้จุดนั้นๆ ใช้ภาษาไทยระบบนี้
3.กระดาษที่ให้มาจะมี 2 แบบ คือ ที่ติดเครื่องมา จะไม่มีสำเนา ให้สั่งที่มีสำเนา มาใช้ดีกว่า เพราะระบบการเงินเป็นระบบที่ต้องการสำเนา (เป็นอีกเหตุหนึ่งว่า ทำไม EPSON TMU จึงเป็น หัว dot)
4.ให้วางแผน เรื่อง port ด้วย เพราะเครื่องพิมพ์ใบเสร็จ ก็ 1 port แล้ว แล้วอีก port ที่มาต่อเครื่องพิมพ์ TMU จะใช้ port ไหน
สำหรับ mitnet ซื้อแบบหัว parallel port (LPT) น่าจะดีที่สุด (เพราะถ้าจำไม่ผิด ทั้ง ใบเสร็จและ slip ไม่มีงานพิมพ์ พิมพ์ผ่าน SPL ที่จะพิมพ์ผ่าน USB ได้)
สำหรับทางเลือก
วิธีแรก ใช้ LPT1 พิมพ์ใบเสร็จ LPT2 ใช้ พิมพ์ slip วิธีนี้ก็ต้องเพิ่ม parallel port ที่เครื่อง อีก 1 port (วิธีนี้ ผมไม่ได้ลองแต่น่าจะใช้ผ่าน mindy dosบน windows ก็น่าจะได้, บนจุด dos ก็น่าจะได้)
วิธีที่ 2 ใช้ port COM ที่มีอยู่แล้ว โดยใช้สายแบบเดียวกับ เครื่องพิมพ์ใบสั่งยา (วิธีนี้น่าจะเป็น จุด dos เท่านั้นครับ ซึ่งผมก็ใช้วิธีนี้เพราะประหยัด และเครื่องคอมพ์ทุกเครื่องก็มี COM PORT อยู่แล้ว)
หลักการก็คือ เครื่องพิมพ์ slip ใช้ LPT1 เครื่องพิมพ์ใบเสร็จใช้ LPT2 (ผ่าน com port โดยให้เรียกใช้ p.bat ใน mitnet batch file ก่อน)
โดยที่ต้องจำให้ได้ว่า เครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ผ่าน com port ผ่าน p.bat ค่า baud rate ของเครื่อง printer คือ 9600 คือต้องเข้าไป set ค่า เครื่องพิมพ์ อยู่แล้ว ก็อย่าลืมเปลียนรหัสภาษาไทยด้วย เช่นผมเลือกใช้รุ่น สมอ.18
คือ นึกถึง การ set เครื่องพิมพ์ใบสั่งยา (ที่คู่กับ sticker ยา )นั่นแหละครับ แบบนั้นเลย

ทีนี้มาถึงเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องคือ รหัส ภาษาไทย เฉพาะจุดบริการ จะทำยังไง กรณีที่ ออกแบบระบบใว้ตั้งแต่ต้น เป็น KU42 หรือ สมอ.18 ไว้แล้วก็คงไม่มีปัญหา
แต่ผมมีปัญหาเพราะตอนนี้ใช้ สมอ.17 ทั้ง โรงพยาบาล ก็เลย ต้องมาหาวิธีการให้จุดการเงิน ใช้ สมอ.18
ก็ไม่มีอะไรมากครับ ต้องรู้หลัก การเรียกใช้ค่า ของ thai.cfg ของ thails เท่านั้นครับ
thails จะเรียกใช้ thai.cfg ตาม directory ที่เรียก thails คือ ถ้าเรียก thails ที่ h: และมี thai.cfg ที่ h: แล้ว ระบบภาษาไทยก็จะถูกเรียกจาก h:
วิธีการง่ายๆ ก็คือ สร้าง thai.cfg ที่เก็บค่า สมอ.18 ก่อน แล้ว copy ไปใว้ที่ h: ของเครื่องการเงิน โดยที่ใน mitnet batch file ให้เรียก thails/tt หลังจากเรียก drive h: ก่อน
เช่น
h:
if not exist h_syst...
...
thails/tt
.....
....
สำหรับการสร้าง thai.cfg ที่ safe กับระบบ มากที่สุดให้ copy directory DOS
ออกมาวางที่ชั่วคราวเช่น f:\temp\dos
cd f:\temp\dos
thails/tt
thails /s

ก็จะมีหน้าต่างตั้้งค่า ก็เลือก สมอ.18 ค่าอื่นๆ ก็ดูใว้ด้วย ครับ ให้เหมือนๆ กับค่าเก่าๆ ก็จะดีที่สุด
บันทึก
ก็ไป copy thai.cfg ที่ได้ ตรง f:\temp\dos ไปที่ h:
คราวนี้ก็จะได้ mitnet ที่จุดการเงิน เป็น สมอ.18 แล้ว
************
อีกจุดคือ ไป set config ของ mitnet
TMU.jpg

ให้เลือก ชื่อเครื่องพิมพ์ตามรุ่น ที่เราซื้อมา
แค่นี้ ระบบก็จะทำงานสมบูรณ์แบบแล้วครับ print เสร็จก็ตัด ฉับ เลยครับ

อ้อ อีกเรื่อง ถ้า print แล้ว slip ยาว ไปหน่อย ก็กำหนดที่ line space ก็ได้ ครับ ลดลงมา ผมใช้ 14 กำลังดี

Re: อยากได้ driver EPSON TMU 220

โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 16, 2012 12:47 pm
โดย tanawat
อยากได้ driver thai/tt ที่ใช้กับtmu220

Re: วิธีการติดตั้งเครื่องพิมพ์ EPSON TMU 220

โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 16, 2012 12:48 pm
โดย tanawat
อยากได้ driver thails/tt ที่ใช้ภาษาไทยกับ TMU220

Re: วิธีการติดตั้งเครื่องพิมพ์ EPSON TMU 220

โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 17, 2012 11:05 pm
โดย mit
จริงๆตอบไปแล้ว แต่ตอบอีกก็ได้
พิมพ์ได้เลยครับเพราะเครื่องพิมพ์ไม่เหมือนรุ่นเก่าโดยต้องกำหนด fonts ตอนพิมพ์ครับไม่ต้องบอกตอนซื้อเพราะมึอยู่แล้วในเครื่อง
ถ้าใช้ เกษตร.42 ก็กำหนดชื่อเครื่องเป็น TMU220
ถ้าใช้ สมอ.18 ก็กำหนดชื่อเครื่องเป็น TMU226 ไม่ต้องสงสัยครับหมอทำไว้ให้แล้วครับ( ตามรูป 2 บรรทัดท้ายเลย)
โปรแกรมจะกำหนดเองเลยครับพิมพ์ได้แน่นอน เพราะใช้อยู่ครับ เป็นแบบ serial port คอมพ์เครื่องหนึ่งพิมพ์ได้ถึง 3 เครื่องพิมพ์พร้อมกันโดยไม่ต้องเพิ่มอะไร (1 parallel+2 serial)
โดยที่ช่องพิมพ์ slip กำหนดเป็น LPT อะไรสักอันก็ได้ ส่วนตัวชอบ LPT3 เผื่อบางเครื่องมี Parallel 2 ports (ซื้อ parallel card มาเพิ่ม )
แล้วไปเขียนใน batch ว่า

mode lpt3 = com1
mode com1:9600,n,8,1,p

เครื่องทุกเครื่องที่ run batch นี้ก็จะมี lpt3 ที่เป็น com1 (ของสัตหีบเขียนไว้ใน login script ดังนั้นเครื่อง dos ทุกตัวของ รพ.สัตหีบจะมี LPT3 ทุกเครื่อง)
เวลาพิมพ์จะออกทาง com1 แทน(ใช้ mode เปลี่ยนเส้นทางของข้อมูลครับ) เราสามารถใช้วิธีนี้กับ epson LQ300 ด้วยครับเพราะรุ่นนี้มี serial port แบบ25ขาในตัวด้วย
จึงพิมพ์ได้ 3 port โดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์อะไรแต่ต้องมีสาย serial printer ครับซื้อมาหรือ เอาสาย modem เก่าๆมาแปลงก็ได้ หน้าตาเหมือนกันแต่การต่อไม่เหมือนกันนะสายมันจะสลับกันอยู่ และอีกนิดครับอย่าลืมตั้งค่าการเชื่อมต่อของเครื่องพิมพ์เป็นความเร็ว 9600 นะครับตั้งมาจากโรงงานจะประมาณ 11500 จำไม่ได้ว่าเท่าไรแน่แต่สมัย dos รุ่งเรืองมันเร็วสุดแค่ 9600 คำสั่ง mode รู้จักแค่นั้นครับตรงนี้ตั้งผิดก็ไม่ทำงานครับ ทดลองก่อนก็ได้ครับเช่น พิมพ์มือเลยครับ
c:>\mode LPT1=com1
c:>\mode com1:9600,n,8,1,p
เสร็จแล้วกด print screen เลยครับถ้าถูกก็จะพิมพ์ออกมาทันทีครับ ถ้าไม่ใช่ก็พิมพ์ค่าอื่นๆดู เช่น ขั้วที่ต่อมันเป็น com2 ก็เปลี่ยนค่าไม่ต้องไปถอดสายพิมพ์ใหม่ไวกว่า
บางทีขั้วก็เป็นแบบ 25 ขาเป็น com1 9 ขาเป็น com2 มีสายเป็น 9-25 อันนี้ก็คิดแก้ปัญหาเอาเองนะทำอย่างไรง่ายกว่าก็ตามนั้น

Re: วิธีการติดตั้งเครื่องพิมพ์ EPSON TMU 220

โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 01, 2013 1:53 pm
โดย mit
ระบบพิมพ์ใหม่ ตั้งค่าใน mit-net ตรง port กำหนดเป็น OPT หรือ TPT เพื่อพิมพ์ออกเครื่อง dotmetric เช่น TMU220 นี่แหล่ะ
OPT จะพิมพ์เที่ยวเดียวครบ 3 บรรทัด(สระบน,พยัญชนะ,สระล่าง) แต่ TPT พิมพ์ทีละบรรทัด
mit-utility จะทำตัวเหมือน thaidriver สมัยก่อนเลยครับ กำหนดรหัสภาษาไทยและระยะห่างระหว่างบรรทัดได้ด้วย เช่น
TPT3,KU,20,19,22
คือTPT= พิมพ์แบบ 3 เที่ยว
3 = พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ dotmetric ที่กำหนดชื่อไว้ใน SPL3 ของ mitutility ซึ่งสามารถเป็น USB port ก็ได้
KU = พิมพ์ด้วยรหัส เกษตร
20 = ระยะห่างของสระบนกับพยัญชนะ
19 = ระยะห่างของสระล่างกับพยัญชนะ
22 = ระยะห่างของสระล่างกับสระบนแถวถัดไป