รายงานทันตกรรม

วิธีการลงรายงาน

 
ข้อมูลทั่วไป
 
1. จำนวนผู้รับบริการทั้งหมด หน่วย : ครั้ง / ราย
          จำนวนครั้งหรือจำนวน visit รวบรวมจากจำนวนครั้งของผู้รับบริการทั้งหมด จำนวนรายหรือจำนวนงาน รวบรวมจากจำนวนชนิดของบริการที่ได้ให้แก่ ผู้รับบริการ
ตัวอย่าง
          นาย ก. มาวันที่ 10 ก.ย. ได้รับการตรวจใหม่ในช่องปาก เอ็กซเรย์ ถอนฟันและอุดฟัน นับเป็น 1 ครั้ง / ราย (Visit / 4 งาน) นาย ก. มาอีกครั้ง วันที่ 20 ก.ย. รับการตรวจในช่องปาก อุดฟัน นับเป็น
1 ครั้ง / 2 ราย รวมเป็น 2 ครั้ง / 6 ราย
 
2. จำนวนผู้รับบริการใหม่ หน่วย : คน
          หมายถึง นาย ก. มารับบริการในวันที่ 10 ก.ย. นับเป็นคนใหม่ และเมื่อนาย ก. มาอีกครั้ง ในวันที่ 12 ต.ค. ของปีนั้น นาย ก. ไม่นับเป็นคนใหม่ แต่ถ้า นาย ก. มาอีกครั้งในวันที่ 3 ม.ค. ของปีถัดไป นาย ก. จะถูกนับเป็นคนใหม่ ทั้งนี้ จะสัมพันธ์กับการลงเลขของห้องบัตร ซึ่งมีการลงเลขใหม่ เมื่อต้นปีปฏิทิน เช่นกัน
 
3. จำนวนผู้ป่วยใน หน่วย : คน
          หมายถึง จำนวนผู้ป่วยที่รับไว้รักษาภายในสถานบริการ โดยทันตแพทย์เป็นผู้ให้การรักษาเท่านั้น โดยใน พ.ศ. เดียวกันจะมาเป็นผู้ป่วยในกี่ครั้ง ก็นับทุกครั้งรวมกันไม่แยกเป็นผู้ป่วยเก่าหรือใหม่
ตัวอย่าง
         
ด.ช. ก. เป็นผู้ป่วยเด็กเข้ารับการรักษาด้วยโรค Nephrotic syndromeโดยแพทย์และแพทย์ได้ส่งมาให้ทันตแพทย์ทำการรักษาทางด้านทันตกรรม เช่น อุดฟัน เป็นต้น ก่อนที่แพทย์จะทำการรักษาโรคต่อ ในกรณีนี้ไม่นับว่า ด.ช. ก. เป็นผู้ป่วยใน ให้นับเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการปกติ
          ถ้า ด.ช. ก. มีอาการบวมที่ใบหน้าและ Infection เกิดจากฟัน แพทย์ได้ส่งมาปรึกษาทันตแพทย์ และเพื่อการรักษาต่อ ในกรณีนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้รับการรักษาให้ ด.ช. ก. เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (หรือแพทย์อาจเป็นผู้ส่งรับ ด.ช. ก. เป็นผู้ป่วยในแล้วก็ตาม) และทันตแพทย์ได้ให้และรักษารวมทั้งการติดตามการรักษาให้ผู้ป่วยจนกระทั่งผู้ป่วยมีสภาพดีแล้ว ในกรณีนี้ให้ถือว่า ด.ช. ก. เป็นผู้ป่วยในฝ่ายทันตกรรม
 
4. นักเรียนประถมที่รับบริการ เด็กที่มีอายุ 7-12 ปี ที่ได้รับบริการ
 

 
งานบริหาร
หน่วย : ชั่วโมง / ครั้ง
เป็นข้อมูลที่รายงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ปฏิบัติในเดือนนั้น ๆ
 
1. การประชุมประจำเดือนของฝ่ายทันตกรรม หมายถึง ประชุมของทันตบุคลากรและเจ้าหน้าที่ ทุกระดับในฝ่าย โดยมีวาระการประชุม การบันทึกรายงานการประชุมแต่ละครั้ง และจัดเก็บตามระเบียบงานสารบรรณอย่างเรียบร้อยและถูกต้อง
 
2. การเข้าประชุมคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาล อาจจะเป็นการประชุมประจำเดือนหรือวาระจร (เดือนละ 1-2 ครั้ง) ให้ลงรายงานสถิติตามจำนวนครั้งและชั่วโมงที่ประชุมตามความเป็นจริง
 
3. การประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ อาทิ เช่น
• คณะกรรมการวิชาการของโรงพยาบาล
• คณะอนุกรรมการประสานงานโครงการ พบส.
• คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาโรงพยาบาล
• คณะกรรมการสุขศึกษาประชาสัมพันธ์
• คณะกรรมการสวัสดิการและบ้านพัก
ให้ลงสถิติตามจำนวนชั่วโมง และครั้งที่เข้าร่วมประชุมตามความเป็นจริง
 

 
งานวิชาการ
 
1. งานนิเทศวิชาการ เป็นการนิเทศหรือร่วมนิเทศให้แก่หน่วยงานในระดับรองลงไป โดยเฉพาะในงานเทคนิคบริการและวิชาการ เช่นโรงพยาบาลระดับศูนย์ นิเทศทางวิชาการให้แก่โรงพยาบาลระดับทั่วไปหรือโรงพยาบาลชุมชน (ระดับอำเภอ) ในจังหวัดหรือเครือข่าย หรือเขตเดียวกัน เป็นต้น การลงรายงานให้ระบุสถานที่และเวลาที่ไปนิเทศ
 
2. การเป็นวิทยากรหรืออาจารย์พิเศษ หมายถึง การบรรยายให้ความรู้ทางวิชาการทางทันต-สาธารณสุขแก่นักศึกษา ระดับปริญญาหรือประกาศนียบัตร เช่น ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล นักศึกษาพยาบาล นักศึกษาวิทยาลัยครู เป็นต้น นอกจากนี้การเป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการระดับเขต / เครื่อข่าย / จังหวัด
 
3. การจัดประชุมวิชาการภายในฝ่ายหรือภายในโรงพยาบาล ในกรณีที่โรงพยาบาลมีการจัดประชุมวิชาการเป็นประจำเดือนและทันตแพทย์ได้รับเชิญให้บรรยายหรือเป็นวิทยากร โดยที่ฝ่ายทันตกรรมไม่ได้มีส่วนในการประชุมวิชาการ การลงสถิติรายงานให้ลงเฉพาะการเป็นวิทยากร ข้อ 2 แต่ถ้าฝ่ายทันตกรรมส่วนร่วมในการจัดการประชุมวิทยากรเป็นเป็นผู้บรรยายด้วย ก็ให้ลงรายงานในข้อ 2 และ 3
 
4. การให้การปรึกษาทางวิชาการ เป็นการให้การปรึกษาแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งควรมีการบันทึกรายงานให้การปรึกษาทุกกรณี เช่น การเป็นกรรมการในคณะทำงานหรือคณะกรรมการในโครงการพิเศษต่าง ๆ
 
5. จัดฝึกอบรม หน่วยเป็นหลักสูตร / ชั่วโมง หมายถึง การปฐมนิเทศ หรือการอบรมพื้นฟูความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภายในฝ่าย หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดูงานของนักศึกษาสาขาต่าง ๆ ให้ระบุหลักสูตรที่จัดฝึกอบรมและคุณาวุติหรือลักษณะของกลุ่มที่เข้ารับการอบรม
 
6. อื่น ๆ สำหรับงานวิชาการ เช่น งานวิจัย (ที่เสร็จแล้ว) งานการศึกษาวิเคราห์ การเผยแพร่งานทางวิชาการโดยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เป็นต้น
 

 
ทันตกรรมชุมชน
 
1. การสำรวจข้อมูลพื้นฐานสุขภาพช่องปาก (Oral health Survey) ให้ระบุกลุ่มเป้าหมาย หรือประชากรตัวอย่าง และจำนวนที่สำรวจในกรณีนี้ หมายถึงการสำรวจที่เสร็จสิ้นแล้ว พร้อมรายงานสรุปการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวอย่างเช่น การสำรวจสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนประถมศึกษาในอำเภอหนองหอย จำนวน 360 คน เป็นต้น
 
2. จัดการรณรงค์ทางทันตสุขภาพ หน่วย : วัน / ครั้ง
 
3. จัดนิทรรศการทางทันตสุขศึกษา หน่วย : วัน / ครั้ง
 
4. การจัดป้ายหรือบอร์ด เพื่อเผยแพร่ทันตสุขศึกษา ในกรณีการเปลี่ยน จัดบอร์ดหรือโปสเตอร์ตามคลีนิคบริการต่าง ๆ เช่น หน้าห้อง OPD หน้าห้องทันตกรรม ในคลีนิคผู้สูงอายุ เป็นต้น ก็ถือได้ว่าได้มี กิจกรรมตามข้อนี้ได้
 
5. การให้ทันตสุขศึกษาทางสื่อมวลชน สื่อมวลชน หมายถึง วิทยุ โทรทัศน์ วีดีโอ โรงภาพยนต์ หนังสือพิมพ์ และเสียงตามสาย เป็นต้น
 
6. ทันตกรรมชุมชนในสถานบริการ
  6.1 ทันตสุขศึกษา ในกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย หมายถึงผู้รับการบริการที่ได้ถูกกำหนดไว้ตามโครงการ เช่น กลุ่มเด็กในคลีนิคสุขภาพ เด็กดี (Well baby clinic) หญิงมีครรภ์ในคลีนิค ANC. กลุ่มผู้ป่วยนอกหน้าห้อง OPD กลุ่มผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยเด็ก เป็นต้น
  6.2 อื่น ๆ เช่น การฝึกแปรงฟัน อมน้ำยาฟลูออไรด์ ให้ยาเม็ดฟลูออไรด์
 
7. ทันตกรรมชุมชนนอกสถานที่
  7.1 ในโรงเรียนที่รับผิดชอบ
    7.1.1 จำนวนนักเรียนในโรงเรียน (เป้าหมาย) โรงเรียนเป้าหมาย หมายถึง
โรงเรียนที่ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อดำเนินงานทันตกรรมในโรงเรียนตามโครงการทันตกรรมโรงเรียน
    7.1.2 ให้ทันตสุขศึกษากับนักเรียนในโรงเรียน โดยทันตบุคคลากร
    7.1.3 แปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ฝึกสอนแปรงฟันในโรงเรียน
    7.1.4 อมน้ำยาฟลูออไรด์ ให้นับจำนวนนักเรียนที่มากที่สุดในเดือนที่ทำกิจกรรม
    7.1.5 นักเรียนได้รับบริการทันตกรรมเคลื่อนที่ ไม่ได้หมายถึง การออกหน่วยเคลื่อนที่ทั่วไปที่ไปตั้งหน่วยในโรงเรียน
  7.2 ในโรงเรียนนอกเขตรับผิดชอบ หน่วย : โรงเรียน / ครั้ง
    7.2.1 นักเรียนได้รับบริการทันตกรรม หน่วย : คน/ ครั้ง
  7.3. ในชุมชน
    7.3.1 ผู้มารับบริการทันตกรรมเคลื่อนที่ การดำเนินงานทันตกรรมในชุมชน หมายถึง การออกหน่วยทันตกรรมในชุมชน ในเขตรับผิดชอบ หรือการออกหน่วยเคลื่อนที่เป็นครั้งคราว เช่น การออกหน่วยเคลื่อนที่ร่วมกับ หน่วยปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.) ร่วมกับจังหวัดหรือการออกหน่วยแพทย์อาสา (พอ.สว.) เป็นต้น กิจกรรมทุกอย่างต้องได้รับการบริการกับทันตบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ของฝ่ายทันตกรรมหรือของสถานบริการ จึงนำมาลงรายงานได้
     
8. งานสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน
  8.1 นิเทศงานทันตสาธารณสุข เป็นลักษณะเดียวกับนิเทศวิชาการในงานวิชาการ ข้อ 1 แต่เป็นการนิเทศทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน แทนการนิเทศด้านเทคนิคบริการ
     งานทันตสาธารณสุขมูลฐาน ได้แก่ งานเฝ้าระวังทางทันตสาธารณสุข งานทันต-สาธารณสุข (ทส.สม.) งานรับส่งต่อผู้ป่วยโครงการบัตรสุขภาพ เป็นต้น
  8.2 – 8.3 การรับ – ส่ง ต่อผู้ป่วยทางทันตกรรม สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องชี้วัดถึงศักยภาพของสถานบริการแห่งนั้น
  8.4 ร่วมจัดและร่วมเป็นวิทยากรอบรมครู / อสม. / ผสส. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกับข้อ 2 ในงานวิชาการ
 

 
งานเทคนิคบริการ
 
1. งานทันตวินิจฉัย หน่วย : คน
  ตรวจ 1
การตรวจและวินิจฉัยสภาพโรคในช่องปากเฉพาะที่โดยไม่ต้องใช้เทคนิคอื่น ๆ เช่น การตรวจเฉพาะฟันซี่ที่มีอาการ เป็นต้น
ตรวจ 2
การตรวจและวินิจฉัยสภาพของโรคในช่องปากทั่วไป และวางแผนเพื่อการรักษา (Oral health diagnosis and treatment planning)

หมายเหตุ :
ตัวอย่าง นาย ก. มารับบริการในวันที่ 7 ก.ย. และได้รับการบริการ ตรวจ 2 เอ็กซเรย์ ถอนฟัน และนัดเพื่ออุดฟันในครั้งต่อไป ในกรณีนี้ นาย ก. จะได้รับการบริการ 3 งาน ในวันที่ 7 ก.ย. และเมื่อ นาย ก. มารับบริการตามนัด เพื่ออุดฟัน นาย ก. จะได้รับบริการอุดฟัน จะไม่มีรายงานในการตรวจ 1 หรือ ตรวจ 2 อีก ซึ่งสรุปว่า งานทันตวินิจฉัน หมายถึง ผู้ป่วยที่ผ่านการตรวจจาก OPD ของฝ่ายทันตกรรม เท่านั้น

 
2. งานทันตรังสี หน่วย : คน / ฟิล์ม
  เอ็กซเรย์ 1
การถ่ายภาพรังสี โดยใช้เทคนิคภายในช่องปาก (Intra oral)
  เอ็กซเรย์ 2
การถ่ายภาพรังสี โดยใช้เทคนิคภายนอกช่องปาก (Extra ira)
 
3. งานเวชศาสตร์ช่องปาก หน่วย : คน
  หมายถึง
  - การรักษาโรคทางยาในช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการบดเคี้ยว
  - การรักษาโรคทางยาในช่องปากที่มีอาการทางระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย
  - การรักษาโรคทางยาในช่องปากที่อาศัยการชันสูตรในห้องปฏิบัติการทางเคมีร่วมด้วย เช่น ตรวจเลือด เป็นต้น
  หมายเหตุ :
  ก) .กรณีที่ นาย ก. ได้รับยาแก้ปวดและ / หรือยาแก้อักเสบ หลังจากได้รับการถอนฟันแล้ว ไม่นับว่า นาย ก. ได้รับการบริการงานเวชศาสตร์ช่องปาก ให้นับว่า นาย ก. ได้รับบริการงานศัลยกรรม
  ข). กรณีที่ นาย ก. ได้รับยาแก้ปวดและ / หรือยาแก้อักเสบ แต่ไม่ได้รับบริการทันตศัลยกรรม ให้นับว่า นาย ก. ได้รับการบริการงานเวชศาสตร์ช่องปาก
 
4. งานทันตกรรมป้องกัน คือ งานทำทันตกรรมป้องกันในคลีนิค
  ทันตกรรมป้องกัน 1
ทำความสะอาดฟัน (Oral prophylaxis) คือการขูดหินปูนและขัดฟัน แก่ผู้มารับบริการที่ไม่มีอาการของโรคเหงือกอักเสบ
  ทันตกรรมป้องกัน 2
เคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์ ให้ลงบันทึกเมื่อทำเสร็จทั้งปาก
  ทันตกรรมป้องกัน 3
เคลือบร่องฟัน (Pit and Fissure Sealant) นับจากจำนวนซี่และจำนวนคน
 
5. งานทันตกรรมหัตถการ หน่วย : คน / ด้าน / ซี่
  ทันตกรรมหัตถการ 1
ได้แก่การอุดฟัน Class I / Class III / Class V ด้าน Amalgam , Composite หรือ Light curing material การอุดฟันชั่วคราว (Temporary stopping or filling)
  ทันตกรรมหัตถการ 2
ได้แก่ การอุดฟัน Class I compound (O B หรือ CL) Class II / Class IV ด้วย Amalgam , Composite หรือ Light curing material (รวมถึงการอุดในกรณี Diastema edging)
  ทันตกรรมหัตถการ 3
ได้แก่ การอุดฟันที่มากกว่า 3 ด้าน / การอุดฟันด้วยการเสริม Pin / การอุดฟันแบบ Facing ทั้ง Direct และ Indirect technic / การอุดฟันชนิด Inlay , Onlay เป็นต้น
 
6. งานรักษาคลองรากฟัน หน่วย : คน / ซี่
  รักษาคลองรากฟัน 1
การเจาะและขยายคลองรากฟัน ในกรณีฟันหน้าหรือฟันรากเดียว
  รักษาคลองรากฟัน 2
การเจาะและขยายคลองรากฟัน ในกรณีฟันหลังหรือฟันมากกว่า 1 ราก
  รักษาคลองรากฟัน 3
การล้างและใส่ยาในคลองรากฟัน (Irrigation and medication / การฟอกสีฟัน Bleaching / การเปิดฟันเพื่อเจาะหนอง (Open and drainage ) เป็นต้น
  รักษาคลองรากฟัน 4
การอุดคลองรากฟัน กรณีฟันหน้าหรือฟันรากเดียว ( Root canal filling / apexification) ในฟันหน้าหรือฟันรากเดียว
  รักษาคลองรากฟัน 5
การอุดคลองรากฟันหลังหรือฟันที่มีมากกว่าหนึ่งราก / Apexification ในฟันหลังหรือฟันมากกว่า 1 ราก
 
7. งานรักษาโรคปริทันต์ หน่วย : คน / Sextant
  ปริทันต์ 1
การขูดหินปูน ขัดฟันและการให้ทันตสุขศึกษาในคนไข้ที่เป็นโรคปริทันต์ ( Ultrasonic scaling c hand scaling polishing & oral health instruction / การทำ Root planing
  ปริทันต์ 2
การทำ Gingivectomy หรือ Gingivoplasty
  ปริทันต์ 3
การทำ Excisional new uttachment procodure (ENAP) การทำ Flap operation
  ปริทันต์ 4
การทำ Alveoloplasty การตกแต่งหรือบูรณะกระดูกรองรับฟัน
 
8. งานทันตกรรมสำหรับเด็ก หน่วย : คน / ซี่
  ทันตกรรมเด็ก 1
การทำ Pulpotomy ในฟันน้ำนม
  ทันตกรรมเด็ก 2
การทำ Pulpotomy หรือ Root cannal treatment (R.C.T.) ในฟันน้ำนม
  ทันตกรรมเด็ก 3
การทำ Pedodontic band หรือ Stainless steel crown (S.S.C.) หรือ Crown ในฟันหน้า
  ทันตกรรมเด็ก 4
การใส่ฟันหรือการใส่ Space maintainer
  ทันตกรรมเด็ก 5
การจัดการในเด็กที่มีปัญหา โดยวิธีทันตกรรมสำหรับเด็ก เช่น การฉีด Catara การให้ Chloral hydrate เป็นต้น ก่อนทำการรักษา
  หมายเหตุ :
กรณีอุดฟันและถอนฟัน ในคนไข้เด็กให้ลงรายงานทันตกรรมหัตถการ ทันตศัลยกรรม
กรณีทำความสะอาดฟัน เคลือบร่องฟันและเคลือบฟลูออไรด์ ให้ลงรายงายทันตกรรมชุมชน
 
9. งานทันตศัลยกรรม หน่วย : คน / ซี่
  ทันตศัลยกรรม 1
การถอนฟันปกติทั่วไป ไม่ต้องใช้เทคนิคซับซ้อน
  ทันตศัลยกรรม 2
การถอนฟันที่มีปัญหา เช่น รากฟัน Cementosis ,Ankylosis การใช้การกรอกตัดฟันร่วมด้วย เป็นต้น
 
10. งานศัลยกรรมช่องปาก หน่วย : คน/ งาน
  ศัลยกรรมช่องปาก 1
งานเบ็ดเตล็ดทางศัลยกรรม ได้แก่ ล้างแผล / เปลี่ยน Drain / Stop bleeding / biopsy / เย็บแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ Frectomy / Operculectomy การเจาะหนองโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ / การถอด Arch bar เป็นต้น
  ศัลยกรรมช่องปาก 2
งาน Surgery ได้แก่ การถอนฟันคุด (Impacted) 0821 / การตัดแต่งกระดูก Alvcolectony / การทำ Root Resection หรือ Retrograde ในฟันหน้า / การใช้ Electro surgery หรือ Cryosurgery / การตัด Torus 082 ขนาดเล็ก / การตัดเนื้องอกขนาดเล็ก เป็นต้น
  ศัลยกรรมช่องปาก 3
งาน Minor surgery ที่ยาก ได้แก่ การถอนฟันจม (Embeded ) / การถอนฟันคุดที่ยาก (Impacted) / การทำ Root resection 0832 หรือ Retrograde ในฟันหลัง / การทำ Implantation / การผ่าตัด Torus / การควักถุงน้ำขนาดเล็ก (Enucleation) 0831 / การเข้าเฝือกฟันและกระดูก / การทำ Surgical splint / การควักหินน้ำลายในท่อน้ำลาย เป็นต้น
  ศัลยกรรมช่องปาก 4
งาน Major oral surgery ได้แก่ การรักษา Osteomyclitis / การควักถุงน้ำขนาดใหญ่ / การตัดเนื้องอกขนาดใหญ่ / การทำ Marsupialization / การเข้าเฝือกขากรรไกรล่างและบน / การงัดกระดูกจมูกที่หักและเข้าเฝือกโดยไม่ต้องผ่าตัด / การงัดกระดูก Zygoma ที่หัก / การทำ Cald well lue operntion / การรักษา Facical spac infection เป็นต้น
  ศัลยกรรมช่องปาก 5
ได้แก่การทำ Major surgery ที่ยาก ได้แก่ การร่นสันเหงือกโดยวิธีทำ Skin graft / การทำ Ridge augmentation / การทำ Sequestrectomy หรือ Decortication / การเข้าเฝือกขากรรไกร โดยใส่ Arch bar ร่วมกับ Acrylic splint / การผ่าตัดกระดูกใต้ตาหรือผ่าตัดแก้ไขกระดูก Zygoma ที่หัก / การผ่าตัดเอาต่อมน้ำลายออก
  ศัลยกรรมช่องปาก 6
ได้แก่การทำ Complicated oral surgery ได้แก่ การผ่าตัดรักษากระดูกขากรรไกรและใบหน้าที่หัก / การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมกับการใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น Pin fixation , bone plate external skclatal fixation / การทำ Orthognathic surgcry เป็นต้น
  ศัลยกรรมช่องปาก 7
ได้แก่ การทำ Mandibulolcctomy / maxillcctomy / การผ่าตัด TMJ. การทำ Sagital splint osteotomy ทั้งชนิด Lofort I,II & III เป็นต้น
  หมายเหตุ :
กรณีงานขั้นยากขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของทันตแพทย์
 
11. งานทันตกรรมประดิษฐ์ หน่วย : คน / งานหรือคน / ชิ้น
  ทันตกรรมประดิษฐ์ 1
การพิมพ์ปากเพื่อทำ Study cast / การทำ Temporary plate (T.P.) / การทำ Gum slip / การทำ Acrylic splint / การทำ Stent / การพิมพ์ฟันในกรณีที่ Proparation crown or bridge ที่กรอแต่งเรียบร้อยแล้ว
  ทันตกรรมประดิษฐ์ 2
การใส่ฟัน Temperary plate (T.P.) 1-2
  ทันตกรรมประดิษฐ์ 3
การกรอ Rest และการพิมพ์ทำเป็น Final impression สำหรับงาน Paetial denture (P.D.) / การลองงาน (Try in) สำหรับงานทันตกรรมประดิษฐ์ทุกชนิด เช่น ลองโครงโลหะ (Framework) ลอง Casting ลองฟัน ลอง Bite block ยกเว้นลอง Bite block ในงาน F.D.
  ทันตกรรมประดิษฐ์ 4
การกรอแต่งฟันและพิมพ์ฟันสำหรับ Abutment ในงาน Ctched bridge / การลอง Bit block และการทำ Bite regristation ในงาน Full denture / การลอง Infividual tray การทำ Muscle mold และการพิมพ์ปากสำหรับงาน Single denture
  ทันตกรรมประดิษฐ์ 5
การลอง Individual tray & การทำ Muscle mold และพิมพ์ปากสำหรับงาน Full denture / การทำ Preparation & การแยกเหงือกและพิมพ์ปาก รวมถึงการทำและใส่ครอบฟันชั่วคราว สำหรับงาน Pin tooth Coping และ Crown abutment
  ทันตกรรมประดิษฐ์ 6
การ Preparation ฟันสำหรับ bridge 1-3 abutment รวมทั้งการแยกเหลือกพิมพ์ปาก การทำและใส่ Temporory bridge
  ทันตกรรมประดิษฐ์ 7
การใส่ (Insortion) งาน Temporary plate (T.P.) มากกว่า 2 ซี่ / การใส่ Partial denture P.D. / Full denture (F.D.) / Crown & bridge / การ Fixed pin tooth
  ทันตกรรมประดิษฐ์ 8
การซ่อมฟันทุกชนิด Repair , Reline , Rebase / รื้อ Crown & Bridge หรือ Pin / การทำ Occlusal splint
  ทันตกรรมประดิษฐ์ 9
การทำ Maxillo facial Proshotic / การทำ Full mouth rehabitation / การทำ Partial C Precision attachment / การทำ Long span bridge ( ที่มากกว่า 3 butments) / การทำ Megnetic Denture
 
12. งานทันตกรรมจัดฟัน หน่วย : คน / งาน หรือ คน / ครั้ง
  ทันตกรรมจัดฟัน 1
พิมพ์ปาก Take impression
  ทันตกรรมจัดฟัน 2
ทำ Cephalo matric analysis
  ทันตกรรมจัดฟัน 3
Observe และ Activate
  ทันตกรรมจัดฟัน 4
การกรอแก้ไข Functional appliance / การลอง band สำหรับการจัดฟันติดแน่น / การเปลี่ยนลวดขนาดต่าง ๆ ในเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น / การใส่ External anchorge (Chin cap หรือ Head gear)
  ทันตกรรมจัดฟัน 5
การใส่เครื่องมือจัดฟันถอดได้แบบ Passive appliance
  ทันตกรรมจัดฟัน 6
การใส่เครื่องมือจัดฟันติดแน่นแบบ Passive appliance
  ทันตกรรมจัดฟัน 7
การใส่เครื่องมือจัดฟันถอดได้แบบ Active appliance
  ทันตกรรมจัดฟัน 8
การใส่ Functional appliance
  ทันตกรรมจัดฟัน 9
การใส่เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นที่เป็น Active appliance
 
13. งานทันตกรรมบดเคี้ยว
  ทันตกรรมบดเคี้ยว 1
การพิมพ์ปากเพื่อทำ Study cast
  ทันตกรรมบดเคี้ยว 2
การ Transfer face bo / การเข้า Centric rolation (CR) / การทำ Portrusive wax bite
  ทันตกรรมบดเคี้ยว 3
การเข้า Articulator เพื่อศึกษา Occlusion
  ทันตกรรมบดเคี้ยว 4
การกรอแก้ไขความผิดปกติของฟัน / การกรอแก้ไข Occlusal splint
  ทันตกรรมบดเคี้ยว 5
การทำและใส่ Occlusal splint
 
14. งานเบ็ดเตล็ดทางทันตกรรม
  ได้แก่ งานตัดไหม / ขัด filling / กรอแก้ไขหลังจากอุดฟันเรียบร้อยแล้ว Premature contact / การ Follow up และอื่น ๆ