รายงานโดยการกำหนดเงื่อนไข

 
เพื่อให้ได้รายงานตามความต้องการโดยการกำหนดเงื่อนไข
เมื่อเลือกแล้วจะพบเมนูดังภาพ
 
ในหัวข้อรายงานโดยการกำหนดเงื่อนไขบนเมนู
  1.list ใช้แสดงข้อมูลเป็นรายละเอียดข้อมูล  
  2.count ใช้แสดงจำนวนนับของข้อมูลที่ต้องการ  
  3.sum ใช้แสดงจำนวนรวมของข้อมูลที่ต้องการ  
  4.average ใช้แสดงค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่ต้องการ คือ จำนวนรวมหารด้วยจำนวนนับ  
  5.user define  ใช้เรียกคำสั่งเดิมที่เคยสั่งไว้ก่อนหน้านี้และบันทึกไว้  
 
เลือกหัวข้อจากเมนูได้แล้วจะมีข้อความถามรายละเอียดบางส่วนของการแสดงข้อมูล
เช่นให้แสดงข้อมูลทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ จากนั้นให้กำหนดช่วงเวลาที่ค้นหาในแถบ
 
 
List
 
          เมื่อกำหนดช่วงเวลาแล้วจะมีเมนูสีเขียวแสดงรายการข้อมูลให้เลือกว่าต้องการให้แสดงอะไรบ้างในบรรทัดหนึ่งๆ โดยความยาวของข้อมูลรวมกันไม่เกิน 80 อักษรเมื่อแสดงทางจอภาพและ136 ตัวอักษรเมื่อแสดงข้อมูลทางเครื่องพิมพ์ สังเกตุว่าเมื่อเลือกหัวข้อที่ต้องการได้แล้วก็จะมีข้อความสัมพันธ์กับหัวข้อปรากฎบนแถบสีน้ำเงินส่วนของ รายการ จากนั้นบนแถบสีน้ำเงินตรงหัวข้อ เงื่อนไข จะกระพริบให้รู้ว่าท่านสามารถกำหนดเงื่อนไขในการแสดงข้อมูลได้ด้วย หัวข้อเงื่อนไขก็เป็นรายการข้อมูลในชุดเดียวกันกับรายการที่ต้องการแสดง เช่นถ้าต้องการให้แสดงเฉพาะผู้ป่วยเพศชาย ก็เลือกที่หัวข้อ เพศผู้ป่วย แต่หัวข้อที่เป็นเงื่อนไขไม่จำเป็นต้องอยู่ในรายการแสดงจะมีเมนูให้เลือกการเปรียบเทียบของเงื่อนไข
 
          จากนั้นก็จะมีรายการข้อมูลที่ต้องการเทียบค่า(ตามตัวอย่างข้างต้นจะเป็นเมนูเพศ)ให้เลือกท่านสามารถกำหนดเงื่อนไขอื่นได้อีกเมื่อเครื่องมีเมนูถามเป็นคำเชื่อมของเงื่อนไข ให้สังเกตตรงหัวข้อเงื่อนไขจะมีข้อความที่เป็นเงื่อนไขให้ดูด้วย
          ถ้าไม่มีเงื่อนไขอื่นใดอีกก็กด <ESC>จากนั้นเครื่องจะประมวลผลและแสดงออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ต่อไป หลังจากแสดงข้อมูลเรียบร้อยแล้วเครื่องจะถามว่าต้องการเก็บคำถามไว้ใช้ภายหลังหรือไม่ ถ้าต้องการก็กด <S>เครื่องจะให้ตั้งชื่อของคำถามข้างต้น โดยจะเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลดังนั้นจะมีข้อจำกัดว่ายาวได้เพียง 8 ตัวอักษรเท่านั้น หัวข้อที่ท่านเก็บไว้แล้วนี้จะนำกลับมาใช้ได้โดยหัวข้อ USER DEFINE เพียงกำหนดช่วงเวลาใหม่อีกเท่านั้น ด้วยรูปแบบดังนี้ท่านจึงสามารถสร้างรายงานได้ด้วยตนเองตามต้องการ
ในภาพตัวอย่างเป็น เพศเท่ากับชาย
 
Count,Sum และ Average
 
          เป็นการแสดงข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับโปรแกรมนี้จะออกแบบให้มีลักษณะแสดงผลเป็นความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ชนิดใน 2 แนวแกน(Cross -Tabs) ตามแบบข้าล่างเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น
           ต้องการแสดงจำนวนผู้ป่วยจำแนกตามอาชีพของผู้ป่วย จะแสดงโดยตรงไม่ได้ก็ให้แสดงทางอ้อมโดยกำหนดเป็นแสดงตามความสัมพันธ์ระหว่างเพศของผู้ป่วยกับอาชีพของผู้ป่วยแทนและถ้ามีข้อมูลในแต่ละชนิดจำนวนมากยังสามารถทำเป็นกลุ่มของข้อมูลได้อีกด้วย
 
แสดงขั้นตอนการทำงานดังนี้
          เมื่อเลือกหัวข้อเลือกเป็น COUNT,SUM หรือ AVERAGE โปรแกรมจะแสดงแถบสีน้ำเงินให้ กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการแสดงผลเช่นเดียวกับหัวข้อ LIST จากนั้นจะให้เลือกชนิดของข้อมูลในแกนนอน(ตามตัวอย่างเลือกเพศผู้ป่วย)รูปแบบเป็นเมนูสีเขียวด้านซ้ายของจอ จะเหมือนกับการเลือกรายการแสดงในหัวข้อ LIST ส่วนด้านขวาของเมนูจะบอกวิธีการหรือความต้องการที่จะให้ท่านระบุ ต่อมาโปรแกรมจะให้เลือกชนิดของข้อมูลในแนวแกนตั้ง(ตามตัวอย่างเลือกอาชีพ)
          เมื่อเลือกข้อมูลแกนตั้งแล้วโปรแกรมจะแสดงให้จัดกลุ่มของข้อมูลโดยเริ่มจัดการข้อมูลในแนวนอนก่อน
 
ตามภาพจะเห็นว่าที่ด้านขวาบอกให้เลือกสมาชิกที่ 1 ของกลุ่มที่ 1 และกด<ESC>คือเลือกทั้งหมด ซึ่งที่นี้มีข้อมูลมีเพียง 2 ค่าตามเมนูคือ หญิง กับ ชาย ถ้ากด<ESC>จะได้จำนวน COLUMN เท่ากับ 2COLUMNS หรือท่านอาจกำหนดเป็นกลุ่มๆก็ได้เช่น ให้ชายเป็นสมาชิกเดียวของกลุ่มที่1 หญิงเป็นสมาชิกเดียวของกลุ่มที่2 และชาย+หญิงเป็นสมาชิกของกลุ่มที่3 กลุ่มที่3จึงเป็นการแสดงจำนวนรวม ซึ่งจะได้ข้อมูลทั้งหมดเป็น 3 COLUMNS ต่อมาโปรแกรมจะแสดงให้จัดกลุ่มของข้อมูลในแนวตั้งดังภาพ
 
          เช่นเดียวกันถ้ากด<ESC>เลยจะได้จำนวนบรรทัดเท่ากับจำนวนบรรทัดของเมนูซึ่งอาจมีมากเป็นพันรายการตามข้อมูลเช่น DIAGNOSIS ดังนั้นท่านอาจแบ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็นกลุ่มๆได้โดยเลือกสมาชิกจากเมนูเมื่อครบหนึ่งกลุ่มก็กด <ESC>และเมื่อได้กลุ่มครบแล้วเวลาเครื่องถามให้เลือกสมาชิกที่ 1 ของกลุ่มที่(สุดท้าย+1)ให้กด <ESC>ก็จะได้จำนวนบรรทัดเท่ากับจำนวนกลุ่มที่กำหนด จะเห็นว่าเราสามารถใช้วิธีนี้เลือกเฉพาะรายการที่สนใจก็ได้จากตัวอย่างถ้าสนใจเฉพาะทหารเรือกับตำรวจเปรียบเทียบกัน ก็ให้ทหารเรือเป็นสมาชิกเดียวของกลุ่มที่1 และตำรวจเป็นสมาชิกเดียวของกลุ่มที่2 ข้อมูลทั้งหมดจึงมีแค่2 กลุ่มเท่ากับ2บรรทัด
          เฉพาะในกรณี SUM และ AVERAGE จะมีเมนูแสดงข้อมูลที่เป็นชนิดตัวเลขให้เลือกเพื่อ รวมค่าหรือเฉลี่ยค่า
 
          ขั้นตอนต่อมาเป็นการกำหนดเงื่อนไขข้อมูลที่ต้องการนำมานับ,รวม หรือ เฉลี่ยค่า วิธีการเช่นเดียวกันกับในหัวข้อ LIST จากนั้นรอให้เครื่องประมวลผล เมื่อประมวลผลเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีข้อความถามความต้องการจัดเรียงข้อมูลตาม COLUMN ใดค่าเบื้องต้นเป็น 0 คือไม่มีการจัดเรียงหรือเรียงตามหัวข้อข้อมูลบนเมนูแกนตั้ง ตามตัวอย่างในที่นี้ถ้าตอบ 1 จะเรียงลำดับข้อมูลแกนตั้งตามข้อมูลใน COLUMN เพศชาย โดยเรียงจากมากมาน้อย
 
          จากนั้นเครื่องจะให้ท่านสามารถบันทึกคำสั่งเพื่อไว้เรียกใช้ภายหลังเช่นเดียวกับในหัวข้อ LIST จะเห็นว่าสามารถใช้ประโยชน์หัวข้อ รายงานตามการกำหนดเงื่อนไข ได้อย่างกว้างขวางเช่นสรุปรายงานการวินิจฉัยแยกตามเพศผู้ป่วยหรือแยกตามอายุผู้ป่วย หรือ รายงานกิจกรรมแยกตามแพทย์หรือบุคลากรก็ได้ เคยใช้เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่ไม่ทราบชื่อโดยกำหนดที่อยู่บ้านเลขที่… เพศ…อายุระหว่าง…ปีถึง….ปี ได้ และ หาผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคหลายโรค(หลายdiagnosis)ในครั้งเดียวกันคือต้องวินิจฉัยครบทุกการวินิจฉัยที่กำหนดได้ด้วย เช่นหาผู้ป่วยที่วินิจฉัย HTและDM (กำหนดไว้ในเงื่อนไข)ก็ต้องเป็นทั้งสองโรคจะเป็นเพียงโรคอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้